กายภาพบำบัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กายภาพบำบัด (อังกฤษPhysical Therapy หรือ Physio Therapy) เป็นวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต
กายภาพบำบัด จะกระทำโดย นักกายกายภาพบำบัด (PT) หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด(Physical Therapy Assistant) ภายใต้การดูแลและแนวทางของนักกายภาพบำบัด [1] อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคเตอร์ , แพทย์ทางด้านการจัดกระดูก โปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด ยังเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆอีกด้วย[2]
นักกายภาพบำบัด จะใช้ประวัติทางการรักษา และข้อมูลจากการตรวจร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยและ ให้การรักษา ถ้าหากว่าจำเป็น นักกายภาพบำบัดอาจจะต้องอาศัยข้อมูล หรือผลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และการศึกษาภาพถ่ายทางรังสีด้วย การตรวจวินิจฉัยทางไฟฟ้า (เช่น การตรวจคลื่นกล้ามเนื้อไฟฟ้า, การวัดความเร็วการนำกระแสประสาท) ยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ [3]
นักกายภาพบำบัด ปฏิบัติงานในหลายลักษณะงาน เช่น ในส่วนของผู้ป่วยนอก คลินิค หรือสำนักงาน, แผนกผู้ป่วยใน เกี่ยวกับเวชกรรมฟื้นฟู, ผู้ป่วยที่ทำการฟื้นฟูอยู่บ้าน, วงการการศึกษา หรือศูนย์วิจัย, โรงเรียน, สถานพักฟื้น,โรงงานอุตสาหกรรม,ศูนย์ฟิตเนส และ สถานการฝึกสอนนักกีฬา [4]
แพทย์อย่างเช่น ฮิปโปกราเตส และ เฮกเตอร์ เป็นผู้ที่ซึ่งเชื่อว่า เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ริเริ่มการรักษาทางกายภาพบำบัดในสมัยโบราณ ได้นำการรักษาโดยการนวดและการทำธาราบำบัด มาใช้รักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ 460 ปีก่อนคริสตกาล [5] หลักฐานในสมัยแรกสุดที่ถูกบันทึกไว้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดจัดว่า กายภาพบำบัด คือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนไปในปี 1894 เมื่อพยาบาลสี่คนในอังกฤษ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด [6] ประเทศอื่นๆ ก็ได้ดำเนินการเช่นกันและเริ่มมีการทำหลักสูตรการสอนที่เป็นระบบ เช่นเมื่อปี 1913 ได้มีโรงเรียนกายภาพบำบัด ที่มหาวิทยาลัยโอทาโก ในนิวซีแลนด์[7], และในสหรัฐอเมริกา ในปี 1914 ที่ Reed College ในพอร์ทแลนด์ รัฐ ออริกอน [8]
งานวิจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบำบัด งานวิจัยทางกายภาพบำบัดฉบับแรก ถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ เดือนมีนาคม ปี 1921 ใน The PT Review ในปีเดียวกันนั้น แมรี่ แมคมิลลาน ได้ก่อตั้งสมาคมกายภาพบำบัด (ปัจจุบันคือ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ APTA) ในปี 1924 มูลนิธิ Georgia Warm Spring ได้สนับสนุนองค์กรนี้ โดยกล่าวว่า กายภาพบำบัดคือการรักษาสำหรับโรคโปลิโอ [9]
การรักษา ในช่วงทศวรรษที่ 1940 มีหลักที่ประกอบไปด้วย การออกกำลัง การนวด และการดึง ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1950 วิธีการใช้มือกดหรือทำการเคลื่อนไหวโดยตรง (Manipulation) ลงบนกระดูกสันหลัง และข้อต่อของกระดูกระยางค์ ได้ถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ[10][11] ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้น นักกายภาพบำบัด ได้เริ่มมีบทบาทในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยนอก ในส่วนของคลินิคผู้ป่วยทางออโธปิดิกส์, โรงเรียนรัฐบาล, วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย, การดูแลผู้สูงวัย, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, โรงพยาบาล, และศูนย์การแพทย์
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับกายภาพบำบัดในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 1974 ในสาขาของ ออร์โธปิดิกส์ หน่วยงานใน APTA ก็ได้รวมตัวเพื่อนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ออร์โธปิดิกส์ ในปีเดียวกัน ได้เกิด สหพันธ์ออร์โธปิดิกส์หัตถการนานาชาติ (the International Federation of Orthopedic Manipulative Therapy) ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ หัตถการขั้นสูงนับตั้งแต่นั้นมา [12] ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดการตื่นตัวทางทางด้านเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ ทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมากขึ้นสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผลของความก้าวหน้านี้ ก่อให้เกิดเครื่องมือการรักษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดคลื่นเหนือเสียง หรือ Ultrasound, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า, เครื่องผลักประจุไฟฟ้า iontophoresis, และล่าสุดคือ การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น ซึ่งผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2002 [13]

เนื้อหา

  [ซ่อน

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน [แก้]

เพราะว่าองค์ความรู้ทางด้านกายภาพบำบัดนั้น ค่อนข้างกว้าง นักกายภาพบำบัดบางคนจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมในขอบเขตที่ลึกลงไป ในขณะที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทางกายภาพบำบัดให้ศึกษาหลากหลาย ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางที่เป็นที่รู้จักดังนี้

ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiopulmonary) [แก้]

นักกายภาพบำบัดในระบบหลอดเลือดหัวใจและปอด จะรักษาผู้ป่วยทั้งหลาย ที่มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจและปอด เป้าหมายหลัก และการทำหัตถการต่อผู้ป่วย ในส่วนนี้ (รวมไปถึงการเพิ่มความทนทานของการทำงาน และการใช้ชีวิตได้โดยอิสระของผู้ป่วย) คือ เพื่อระบายของเสียออกจากปอด ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่เป็น Cystic fibrosis หรือ ผังผืดที่ถุงลม (โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากมีเสมหะเหนียวแห้ง), ผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติที่ระบบหัวใจ รวมถึง หัวใจวาย, ผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ (CABG) หรือ Bypass, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD, Pulmonary fibrosis หรือ พังผืดเกาะในปอด คือตัวอย่างส่วนหนึ่ง สำหรับผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกายภาพบำบัดระบบหัวใจและหลอดเลือด

ผู้สูงวัย (Geriatric) [แก้]

กายภาพบำบัดในผู้สูงวัย (Geriatric) ครอบคลุมขอบเขตที่กว้างขวาง เกี่ยวข้องกับคนในทุกช่วงอายุ แต่มักจะเน้นไปที่ผู้สูงวัย ซึ่งมีหลากหลายสภาวะที่เกิดเมื่อคนก้าวเข้าสู่วัยชรา ตัวอย่างเช่น โรคข้ออักเสบ ภาวะกระดูกบาง มะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ การเปลี่ยนข้อสะโพก และข้อต่ออื่นๆ ภาวะการสูญเสียการทรงตัว การกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น กายภาพบำบัดในผู้สูงวัย จะช่วยผู้ป่วยในภาวะที่กล่าวมา เช่น การให้โปรแกรมพิเศษที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น ลดอาการปวด และเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย

ระบบประสาท (Neurological) [แก้]

กายภาพบำบัดทางด้านระบบประสาท จะดูแลเฉพาะเจาะจงลงไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีภาวะโรค หรือ ความผิดปรกติทางระบบประสาท ทั้งหมดนี้รวมถึง โรคอัลไซเมอร์, โรคที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน,โรคสมองพิการแต่กำเนิด, มัลติเพิล สเคอร์โรซิส (โรคที่เกิดกับระบบประสาทส่วนกลาง แล้วส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง), โรคพาร์กินสัน, การบาดเจ็บของเส้นประสาทหลัง, Stroke ปัญหาหลักๆของผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเกี่ยวกับระบบประสาท รวมทั้ง ภาวะอ่อนแรง (Paralysis) คือ การสูญเสียรูปแบบการทำงานที่เคยทำเองได้ นักกายภาพบำบัดที่ทำการรักษา จะทำการเพิ่มพัฒนาการในส่วนที่เสียไป

ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedic) [แก้]

นักกายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อกระดูก หรือนักกายภาพบำบัดออโธปิดิกส์ จะทำการวินิจฉัย จัดการรักษา ภาวะที่เกิดความผิดปรกติ หรือบาดเจ็บในส่วนของระบบกล้ามเนื้อกระดูก รวมไปถึงการฟื้นฟูในผู้ป่วย ภายหลังการทำศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ นักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญด้านนี้ มักจะปฏิบัติงานที่ คลินิคผู้ป่วยนอก และทำการรักษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อ,การบาดเจ็บเฉียบพลันจากกีฬา, ข้อเสื่อม, ผู้ที่ทำการตัดแขนขา, การขยับ หรือเคลื่อนข้อต่อ, การฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง, ประคบร้อน/เย็น, กระตุ้นไฟฟ้า (เช่น ความเย็นรักษา, ไอออนโตโฟเรซีส, ไฟฟ้าวินิจฉัยและรักษา[14]) นอกจากนั้น การรักษาฉุกเฉินทางกายภาพบำบัดยังใช้ ภาพสะท้อนจากเสียง (เช่น Ultrasound) เพื่อช่วยประกอบแนวทางในการรักษา เช่นในกรณีของ กล้ามเนื้อหดตัวฉับพลัน [15][16][17][18] ผู้ที่ได้รับความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บ หรือโรค ที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น จะได้รับการตรวจรักษาโดยนักกายภาพบำบัดทางออโธปิดิกส์

ผู้ป่วยเด็ก (Pediatric) [แก้]

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็ก ช่วยการตรวจหาปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม และใช้รูปแบบที่กว้างและหลากหลายในการรักษความผิดปกติในประชากรเด็ก นักกายภาพบำบัดเด็ก จะมีความชำนาญเป็นพิเศษในการวินิจฉัย ให้การรักษา และการจัดการในเด็กทารก เด็ก และวัยรุ่น เกี่ยวกับ ภาวะที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิดทั้งหลาย การพัฒนาการ ระบบกล้ามเนื้อประสาท ระบบกระดูก และภาวะโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังจากการคลอดแล้ว การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่ การเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และมัดเล็ก การทรงตัวและความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการแปลผลทางการรับรู้ การรับสัมผัส ผู้ป่วยส่วนหนึ่งของนักกายภาพบำบัดในเด็ก คือเด็กที่มีการพัฒนาการล่าช้า, สมองพิการแต่กำเนิด, Spina bifida (ความผิดปกติที่เกิดจากการสร้างหลอดประสาทที่ไม่สมบูรณ์), Torticollis

สาขาเฉพาะด้านอื่นๆทางกายภาพบำบัด [แก้]

  • การกีฬา ดูแลและให้ความพร้อมแก่นักกีฬา ก่อน ขณะ และหลังการแข็งขัน เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์พร้อมแข่งขัน และรักษาอาการบาดเจ็บของนักกีฬา
  • Integumentary การรักษาที่เกี่ยวกับสภาวะที่ส่งผลต่อผิวหนัง และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
  • สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา การดูแลและรักษาในหญิงตั้งครรภ์ โดยเตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ และหลังคลอด
  • จักษุวิทยา การดูแลรักษาทางด้านดวงตา (ไม่นิยมในเมืองไทย มากนัก)
และอื่นๆ อีกมากมาย

การศึกษา [แก้]

สหรัฐอเมริกา [แก้]

ในสหรัฐอเมริกา นักกายภาพบำบัด จะต้องจบการศึกษาจากสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตร ก่อนที่จะเข้ารับการสอบผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด (National licensing examination) กฎหมายแห่งชาติยังระบุด้วยว่า ให้นักกายภาพบำบัด ผ่าน การทดสอบข้อสอบกลาง (National Physical Examination) [19]ภายหลังจากการสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตร ก่อนที่จะเข้าทำการปฏิบัติกับผู้ป่วย กล่าวคือ นักกายภาพบำบัดที่จบในสหรัฐอเมริกา จะผ่านการสอบ เพื่อที่จะประกอบวิชาชีพ 2 ครั้ง นอกจากนี่ นักกายภาพบำบัด จะต้องยื่นใบสมัครต่อรัฐ ในแต่ละรัฐที่ทำการปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วย ซึ่งในแต่ระรัฐจะมีระเบียบข้อบังคับต่อนักกายภาพบำบัด ที่แตกต่างกันออกไป จากข้อมูลของ สมาคมกายภาพบำบัดสหรัฐอเมริกา (APTA) มีสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตร 210 แห่ง ในปี 2008 ในจำนวนนี้ 23 แห่งได้เปิดสอนระดับปริญญาโท และ 187 แห่งเปิดสอนหลักสูตร ปริญญาเอก หรือ แพทย์กายภาพบำบัด (Doctor of Physical therapy หรือ DPT) และ หลักสูตรทั้งหมดของสหรัฐอเมริกากำลังเปลี่ยนเป็น DPT[20]

ออสเตรเลีย [แก้]

ในออสเตรเลียเรียกนักกายภาพบำบัดว่า Physiotherapist มีหลักสูตรการศึกษาที่เปิดสอนต่างกัน ระดับปริญญาบัณฑิต ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ประกอบด้วยการศึกษาวิชาทฤษฏีพื้นฐานที่สำคัญเช่น กายวิภาคศาสตร์สรีรวิทยา ชีววิทยา ฟิสิกส์ จิตวิทยา วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว และ goniometry เป็นต้น หลังจากการศึกษาทฤษฏีต่างๆแล้วนักศึกษากายภาพบำบัด จะต้องศึกษา และฝึกปฏิบัติทางคลินิค ซึ่งจะเจาะจงไปในผู้ป่วยกลุ่ม ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ป่วยทางระบบประสาทกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยกลุ่มสูงวัย ผู้ป่วยระบบหลอดเลือดหัวใจและทรวงอก และผู้ป่วยสตรี โดยปรกติแล้วการฝึกปฏิบัตินั้น จะค่อยๆดำเนินไปตลอดภาคการศึกษา โดยนักศึกษาจะต้องเพิ่มพูนความชำนาญ และการระวังรักษามากขึ้นไปในตัวด้วย ในปีการศึกษาสุดท้ายจะมีการสอบปฏิบัติทางคลินิค เพื่อประเมินผล รวมไปถึงการทำงานวิจัยด้วย โดยปรกติ หลักสูตรจะเปิดสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาระดับปริญญาตรีมาก่อน เมื่อจบการศึกษาแล้วจะได้วุฒิ กายภาพบำบัดบัณฑิต (Bachelor of Physiotherapy)
หลังระดับปริญญาบัณฑิตแล้ว จะสามารถเข้าศึกษาต่อในบางสถาบัน ปรกติแล้วจะใช้เวลา 3 ปีสำหรับศึกษาตามหลักสูตรในสาขาเฉพาะที่เกี่ยวข้อง เช่นสรีรวิทยาการออกกำลังกาย สำหรับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ได้เปิดหลักสูตรใหม่หลังปริญญาบัณฑิต จะเปิดให้นักศึกษาสามารถสมัครเข้าศึกษาเป็นเวลา 3 ปี ในระดับปริญญาบัณฑิต ในหลักสูตร ชีวการแพทย์ หรือ วิทยาศาสตร์ (เริ่มต้นในปี 2008) แล้วตามด้วย 3 ปีในหลักสูตรกายภาพบำบัดเป็นหลักสูตรหลังปริญญา หรือ DPT และเช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยบอนด์ ในรัฐควีนส์แลนด์ ก็ได้เปิดหลักสูตร DPT สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทางกายภาพบำบัด

ประเทศไทย [แก้]

ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพกายภาพบำบัดไว้ว่า "เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูการเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด" [21]
จุดเริ่มต้นของเวชศาสตร์ฟิ้นฟูในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยพลตรีนายแพทย์ขุนประทุมโรคประหาร ซึ่งปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้นำวิธีธาราบำบัดมาใช้รักษาผู้ป่วยเป็นครั้งแรก ต่อมา ก็ได้มีการเริ่มงานทางด้านกายภาพบำบัดขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช และได้ก่อตั้งเป็นภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2507และหลังจากนั้นเพียง 1 ปี ก็มีการก่อตั้งโรงเรียนกายภาพบำบัด สังกัดภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น แห่งแรกของประเทศขึ้น และพัฒนาจนเป็นคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ และปัจจุบัน คือ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล [22]
หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในประเทศไทย ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ประกอบไปด้วยการศึกษาวิชาพื้นฐานเช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เคมีอินทรีย์ วิชาเฉพาะทางการแพทย์เช่น มหกายวิภาคศาสตร์ ประสาทกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา จิตวิทยา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ จริยธรรมทางการแพทย์ และวิชาเฉพาะทางกายภาพบำบัดเช่น วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว การวินิจฉัยและรักษาด้วยไฟฟ้า เป็นต้น ตลอดหลักสูตรการศึกษานักศึกษาจะต้องฝึกเพิ่มพูนความชำนาญในแต่ละขอบเขตเช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และจะต้องทำการฝึกปฏิบัติการทางคลินิค พร้อมๆกับการเรียนในมหาวิทยาลัยจนจบหลักสูตร [23]
ภายหลังจากจบหลักสูตรแล้ว นักศึกษาจะต้องผ่านการสอบประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดต่อสภากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเข้าทำการให้การรักษาต่อผู้ป่วย และสามารถใช้คำนำหน้าชื่อ กภ. ในการปฏิบัติงานได้[24]

Evidence-based practice [แก้]

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นหัวข้อที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าขาดหลักฐานทางด้านการวิจัย[25] ช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 การสำรวจของนักกายภาพบำบัดชาวอังกฤษ และออสเตรเลีย พบว่าน้อยกว่า 5% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่า ได้อ่านงานวิจัยสม่ำเสมอและนำไปใช้เป็นแนวทางในการรักษา[26][27] แม้จะมีทรรศนะคติที่ดีมากต่อเรื่อง “การทำเวชปฏิบัติตามแนวทางหลักฐานอ้างอิง” (evidence based practice) แต่นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ ก็ยังใช้หลักการรักษา ที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนเพียงเล็กน้อย และแม้จะมีการเรียกร้องเป็นจำนวนมากให้มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ หลักฐานทางการวิจัยและหลักทางวิทยาศาสตร์ เป็นแนวทางในการต้ดสินใจรักษา แต่นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ ก็ยังคงปฏิบัติตามหลักการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเพื่อจะลบล้างข้อจำกัดนั้น สหพันธ์กายภาพบำบัดโลก(World confederation for physical therapy) (WCPT) สมาคมกายภาพบำบัดสหรัฐอเมริกา (APTA) และศาสตราจารย์จำนวนหนึ่ง ได้ใช้และรวบรวมแนว “เวชปฏิบัติตามแนวทางหลักฐานอ้างอิง” (evidence based practice) ไว้เป็นแหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ [28]

วารสาร และสิ่งตีพิมพ์ [แก้]

นักกายภาพบำบัด สามารถที่จะเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์ และวารสารทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง บางอย่างทำเกี่ยวกับหัวข้อทางกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว ในขณะที่การศึกษาอย่างอื่น (เช่น วารสารมากมายเกี่ยวกับออร์โธปิดิกส์ และการผ่าตัด) ครอบคลุมทั้งหมดเกี่ยวกับหัวข้อ การแก้ไขปัญหาสุขภาพ

อ้างอิง [แก้]

  1.  American Physical Therapy Association (APTA). "Discovering Physical Therapy. What is physical therapy"American Physical Therapy Association.
  2.  Homola, S (2006). "Can Chiropractors and Evidence-Based Manual Therapists Work Together? An Opinion From a Veteran Chiropractor" (PDF). The Journal of Manual & Manipulative Therapy 14(2): E14–E18.
  3.  APTA Section on Clinical Electrophysiology and Wound Management. "Curriculum Content Guidelines for Electrophysiologic Evaluation" (PDF). Educational Guidelines. American Physical Therapy Association.
  4.  APTA (2008-01-17). "APTA Background Sheet 2008". American Physical Therapy Association.
  5.  Wharton MA. Health Care Systems I; Slippery Rock University. 1991
  6.  Chartered Society of Physiotherapy (n.d.). "History of the Chartered Society of Physiotherapy". Chartered Society of Physiotherapy.
  7.  Knox, Bruce (2007-01-29). "History of the School of Physiotherapy"School of Physiotherapy Centre for Physiotherapy Research. University of Otago.
  8.  {{cite web |last= Reed College |title= Mission and History |work= About Reed |publisher= Reed College |date= n.d. |url= http://www.reed.edu/about_reed/history.html |}
  9.  Roosevelt Warm Springs Institute (n.d.). "History"About Us. Roosevelt Warm Springs Institute.
  10.  McKenzie, R A (1998), The cervical and thoracic spine: mechanical diagnosis and therapy, New Zealand: Spinal Publications Ltd., pp. 16–20, ISBN 978-0959774672
  11.  McKenzie, R (2002). "Patient Heal Thyself". Worldwide Spine & Rehabilitation 2 (1): 16–20.
  12.  Lando, Agneta (2003). "History of IFOMT". International Federation Orthopaedic Manipulative Therapists (IFOMT).
  13.  Eugene Physical Therapy (2004-04). "History of Physical Therapy". Eugene Physical Therapy.
  14.  Cameron, M. (2003). Physical Agents in Rehabilitation - From Research to Practice, USA: W.B. Saunders Company. ISBN 0-7216-9378-4
  15.  Real Time Ultrasound - Resources
  16.  Bunce SM, Moore AP, Hough AD (May 2002). "M-mode ultrasound: a reliable measure of transversus abdominis thickness?"Clin Biomech (Bristol, Avon) 17 (4): 315–7. PMID 12034127.
  17.  Wallwork TL, Hides JA, Stanton WR (October 2007). "Intrarater and interrater reliability of assessment of lumbar multifidus muscle thickness using rehabilitative ultrasound imaging". J Orthop Sports Phys Ther 37 (10): 608–12. PMID 17970407.
  18.  Henry SM, Westervelt KC (June 2005). "The use of real-time ultrasound feedback in teaching abdominal hollowing exercises to healthy subjects". J Orthop Sports Phys Ther 35 (6): 338–45.PMID 16001905.
  19.  The Federation of State Boards of Physical Therapy
  20.  American Physical Therapy Association (2008-04-18). "Number of PT and PTA Programs as of April 18, 2008" (PDF). American Physical Therapy Association.
  21.  พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547
  22.  ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย
  23.  http://www.pt.ahs.chula.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=42:2010-10-09-06-36-58&catid=11:2010-10-09-06-07-07&Itemid=3
  24.  http://www.pt.or.th/law/1-2/6.pdf
  25.  Turner, P. "Evidence based practice and physiotherapy in the 1990's". Physiotherapy Theory and Practice 17.
  26.  Turner, P. "Physiotherapists' reasons for selection of treatment techniques: A cross-national survey". Physiotherapy Theory and Practice 15: 235–246. doi:10.1080/095939899307649.
  27.  Turner, P. "Physiotherapists' use of evidence based practice: A cross-national study". Physiotherapy Research International 2(1): 17–29.
  28.  Bridges PH, Bierema LL, Valentine T (2007). "The propensity to adopt evidence-based practice among physical therapists"BMC Health Serv Res 7 (103). doi:10.1186/1472-6963-7-103.PMID 17615076.

ดูเพิ่ม [แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น [แก้]