หน้าหลัก / HOME ติวสอบดอทคอม

หน้าหลัก / HOME ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท
คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

ข้อสอบเอกวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีว สุขศึกษา พลศึกษา ชุด 1

ข้อสอบเอกเคมี วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา สุขศึกษาและพลศึกษา ชุด 2

ข้อสอบ วิชาเอก ชุด 3 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา สุขศึกษาและพลศึกษา

ข้อสอบ ชุด 4 เอกวิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา

ข้อสอบ ชุด 5 เอกสุขศึกษา พลศึกษา วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา

ข้อสอบ ชุด 6 เอกพลศึกษา สุขศึกษา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์

ข้อสอบออนไลน์ การสร้างค่านิยม 12 ประการ

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เก็งข้อสอบสอบครูผู้ช่วย ภาษาไทย

สาระที่ 1 การอ่าน

การอ่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพเฟรซโกเกี่ยวกับการอ่าน
การอ่านเป็นการรับรู้สารโดยการดูตัวหนังสือจากการเขียน ในทางคอมพิวเตอร์ การอ่านหมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำออกมาอีกด้วย

เนื้อหา

  [ซ่อน

การอ่านในทางการสื่อสาร [แก้]

การอ่านในทางการสื่อสาร เป็นการรับรู้สารโดยการดูตัวหนังสือจากการเขียน แต่ในบางทีอาจครอบคลุมถึง การดูสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นอวัจนภาษา เช่น การอ่านแผนที่ การอ่านป้าย หรือ การนำใช้นิ้วลูบในการอ่านอักษรเบรลล์ เป็นต้น การอ่านมีความหมายโดยกว้างว่า การดู(หรือสัมผัสในกรณีอักษรเบรลล์) โดยวิเคราะห์ไตร่ตรองสารด้วย

อุปสรรคในการอ่าน [แก้]

อุปสรรคในการอ่านแบ่งได้สองประการคือ
  • อุปสรรคภายนอก หมายถึงการมีแสงรบกวน หรือไม่มีปัจจัยเพียงพอในการอ่าน เช่น อยู่ในที่มืด เป็นต้น
  • อุปสรรคภายใน หมายถึงปัญหาทางด้านตา เช่นปัญหาสายตา ตาฝ้าฟาง ตาบอด หรือมีความพิการในด้านการสูญเสียการมองเห็น เป็นต้น

การอ่านในทางคอมพิวเตอร์ [แก้]

การอ่านในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงการอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ

ดูเพิ่ม [แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น [แก้]

หลักการอ่านในภาษาไทย
               การอ่านออกเสียงคำเป็นการแสดงความหมายของคำไปสู่ผู้อ่านและผู้ฟัง  เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน  ในการอ่านคำในภาษาไทยมีปัญหาอยู่มาก  เพราะนอกจากคำไทยแล้ว ยังมีภาษาต่างประเทศปนอยู่หลายภาษา  คำบางคำอ่านอย่างภาษาไทย  บางคำอ่านตามลักษณะของภาษาเดิม  การอ่านคำในภาษาไทยจึงต้องศึกษาหลักเกณฑ์และเหตุผลประกอบเป็นคำไป     มีหลักการอ่านดังนี้                                                   
การอ่านตัว ร  ล                                                                                                           ต้องอ่านตัว ร และ ล  ให้ถูกต้อง  ไม่อ่าน ร เป็น ล  หรือ  ล  เป็น ร  เพราะถ้าอ่านผิดก็จะทำให้ความหมายผิดไป  เช่น                                                                                    ถนนลาดยาง                ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า                                                                    เขาลอดบ่วง                 เขารอดชีวิต                                                                                  เธอเป็นโรคร้าย                        โลกนี้ช่างโหดร้ายกับเธอ
การอ่านคำควบกล้ำ                                                                                                                                                คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า  คือเสียงพยัญชนะต้น  ก  ข  ค  ต  ป  ผ  พ  ที่เขียนควบพยัญชนะ  ร  ล  ว  ออกเสียงควบกล้ำกัน   อ่านได้  ๒  แบบคือ                                  ๑.  อ่านอย่างอักษรควบแท้  คือ  อ่านออกเสียงพยัญชนะตัวต้นและพยัญชนะ             ตัวตามควบพร้อมกัน  เช่น                                                                                               ควบกับ  ร  ได้แก่                                                                                                                            กร                    เช่น              กรอง   กรีด  กราย  โกรธ                                                         ขร                    เช่น              ขรัว  ขรุขระ  ขรึม                                                                   คร                    เช่น              ครอบ   ครอง  คร้าม  โครม  ครู                                               ตร                    เช่น             ตรอง   ตรี  ตริ  ตรึง  ตรวจ                                                       ปร                   เช่น              เปรม  ปราชญ์   ประปราย  ปรุง  แปร่ง                                               พร                   เช่น      พรวน    เพราะ    พริ้ง   พราย                                      ควบกับ  ล  ได้แก่                                                                                                                            กล                   เช่น  กล้ำ  กลืน  กลม  กลอง  เกลา  เกลียว                                              ขล                   เช่น  ขลาด  เขลา  ขลัง  โขลก  โขลน                                           คล                   เช่น  คล้อย   คลอง  คลัง  คล้ำ  ไคลคลา                                               ปล                   เช่น เปล่ง  ปลั่ง  ปลอด   ปลอบ  ปลื้ม                                                     ผล                   เช่น  เผลอ  ผลุบ  โผล่  เผล่                                                                 พล                   เช่น  พลอง   แพลง   พลอย  เพลี่ยงพล้ำ                       ควบกับ  ว  ได้แก่                                                                                                                           กว                   เช่น  กวาง  แกว่ง  กวาด  เกวียน  กวัก  ไกว                                        ขว                   เช่น  ขวาง  ขวา  ขวนขวาย  ­ขวักไ­­ขว่                                                  คว                   เช่น  ความ  คว้า   คว้าน    ควัก   ควัน                                     ๒.   อ่านอย่างอักษรควบไม่แท้  คือ  อ่านออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวต้นเพียงตัวเดียว  ไม่ออกเสียงตัวควบ    หรือบางตัวก็ออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่น  เช่นอ่านออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวต้น  ไม่ออกเสียงควบ  เช่น                                                      จริง                  อ่านว่า                         จิง                                                                              เศร้า                 อ่านว่า                         เส้า                                                                               สรง                  อ่านว่า                         สง                                                                    สระ                 อ่านว่า                         สะ                                                        อ่านออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นเสียงตัวอื่น  ได้แก่  พยัญชนะควบ “ทร”  ออกเสียง  เป็น “ซ”  เช่น                                                                                                                                                            ทรวด               อ่านว่า                         ซวด                                                                 ทรง                 อ่านว่า                          ซง                                                                   ทรัพย์              อ่านว่า                         ซับ                                                                   ทราย               อ่านว่า                         ซาย                                                                  ทราบ               อ่านว่า                         ซาบ                                                                 อินทรี              อ่านว่า                         อิน  -  ทรี        
 มีผู้นำคำควบ  ทร  ที่ออกสัยงเป็น    มาแต่งเป็นคำประพันธ์ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการจำไว้ดังนี้                                                                                                                                         ทรวดทรงทราบทรามทราย                 ทรุดโทรมหมายนกอินทรี                                          มัทรีอินทรีย์มี                                                  เทริดนนทรีพุทราเทรา                                        ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด                                 โทรมมนัสฉะเชิงเทรา                                           ตัว “ทร” เหล่านี้เรา                                         ออกสำเนียงเป็นเสียง “ซ”                     หมายเหตุ   ทร  บางคำอ่านอกเสียงอย่างคำควบแท้  เช่น  จันทรา   อินทรา   นิทรา  ฯลฯ การออกเสียงคำควบกล้ำให้ชัดเจนถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะถ้าออกเสียง               ไม่ชัดเจนหรือผิดพลาดไป  จะทำให้ถ้อยคำขาดความไพเราะ  ความหมายของคำ                      ไม่ชัดเจนหรือผิดพลาดไปด้วย  การออกเสียงคำควบกล้ำให้ถูกต้องแม่นยำ  จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องฝึกฝนอย่างมาก                                                                                                                            
หลักการอ่านออกเสียงอักษรนำ                                                                                                แนวทางสำหรับพิจารณาการอ่านอักษรนำมีดังต่อไปนี้
              ๑. ถ้า "อ" และ "ห" นำอักษรเดี่ยว ไม่ออกเสียง "อ" และ "ห" แต่เสียงวรรณยุกต์ที่ออกนั้น ต้องออกเสียงเหมือนเสียงวรรณยุกต์ของตัวหน้าที่เป็นตัวนำ เช่น                              อ  นำ  ย                                                                                                                                                อย่า    อยู่                    อย่าง                อยาก
ห  นำ  ย                                                                                                                                    หยด               หยิม                 เหยาะ              หยาม                                           ห  นำ  ง                                                                                                                                    แหงน                หงาย                         เหงา                 หงอน                         
ห  นำ  ญ                                                                                                                     ใหญ่                 หญ้า              หญิง                                                                                 ห  นำ  น                                                                                                                                         หนี                    หนู                หนา                 หน่อย                         
ห  นำ  ม                                                                                                                                    หมอง                        หมู                   หมา                 ใหม่                                                          ห  นำ  ย 
              หยอง             หยอย               หยัก                 หยุด                                                           ห  นำ  ร                                                                                                                                   หรู                     หรา                      หรอก              หรือ                                                       ห  นำ  ล                                                                                                                                    หลอก                หลับ                          หลุด                หลบ                                            ห  นำ  ว                                                                                                                                          หว่าน  หวี                     หว่า                      ไหว 
              ๒. ถ้าอักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว ต้องออกเสียงวรรณยุกต์ของพยัญชนะตัวหลังให้มีเสียงสูงตามอักษรนำ  เหมือนกับมี  ห นำหน้าคำหลัง   เช่น
                        ผนัง                     ออกเสียงว่า              ผะ หนัง
                        แผนก                   ออกเสียงว่า              ผะ แหนก
                        สงบ                     ออกเสียงว่า              สะ หงบ
                        สงวน                   ออกเสียงว่า              สะ - หงวน 
              ๓. ถ้าอักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว ต้องออกเสียงวรรณยุกต์ของพยัญชนะตัวหลังตามเสียงอักษรกลางที่นำ คือ ตัวนำมีเสียงวรรณยุกต์อย่างไร พยัญชนะตัวหลังที่ถูกนำก็จะมีเสียงวรรณยุกต์อย่างเดียวกัน คือ เหมือนเอา ห นำคำหลัง เช่น
                        ตลบ                     ออกเสียงว่า              ตะ หลบ     
                        ตลาด                   ออกเสียงว่า              ตะ หลาด
                        ปรอท                  ออกเสียงว่า              ปะ หรอด
                        อนึ่ง                     ออกเสียงว่า              อะ หนึ่ง
                        จริต                      ออกเสียงว่า              จะ หริด                      
                                    ผลิต                     ออกเสียงว่า              ผะ หลิด                                                                            สมัย                     ออกเสียงว่า             สะ หมัย                                                       ถวิล                     ออกเสียงว่า              ถะ – หวิน                                                       ๔. ถ้าอักษรสูงนำอักษรต่ำคู่หรืออักษรกลาง ให้ออกเสียงวรรณยุกต์ของพยัญชนะตัวหลังตามเสียงวรรณยุกต์ของตัวมันเอง ไม่ต้องผันไปตามเสียงอักษรสูง เช่น             สบง                 ออกเสียงว่า                    สะ บง                                                           สบาย               ออกเสียงว่า                 สะ บาย                                                         ขจาย                ออกเสียงว่า                 ขะ จาย                                                   ขจร                 ออกเสียงว่า                 ขะ จอน                                            ๕. ถ้าอักษรต่ำเป็นอักษรนำ ให้อ่านออกเสียงวรรณยุกต์พยัญชนะตัวหลังตามเสียงวรรณยุกต์ของตัวมันเอง เช่น                                                                                                      รหัส                 ออกเสียงว่า                 ระ หัด                                                           รโห                 ออกเสียงว่า                 ระ โห                                                           ชบา                 ออกเสียงว่า                 ชะ บา                                                           ชนัก                ออกเสียงว่า                 ชะ นัก                                                 แต่ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้นบางคำที่ไม่ออกเสียงตามกฎเกณฑ์ที่กล่าวมา เช่น
                        อัศวิน                   ออกเสียงว่า              อัด-สะ-วิน
                                                    ไม่ใช่                        อัด-สะ-หวิน
                        กฤษณะ                ออกเสียงว่า              กริด-สะ-นะ
                                                    ไม่ใช่                        กริด- สะ-หนะ
                        สมรรถภาพ          ออกเสียงว่า              สะ-มัด-ถะ-พาบ
                                                    ไม่ใช่                        สะ-หมัด-ถะ-พาบ

                        วิษณุ                    ออกเสียงว่า              วิด-สะ-นุ
                                                    ไม่ใช่                        วิด-สะ-หนุ
              ๖.  คำที่เขียนในรูปอักษรนำ  ถ้าแผลงพยัญชนะต้นออกเป็นคำ  ๒  พยางค์   จะต้องอ่านเสียงพยางค์หลัง  ให้มีเสียงสูงต่ำเท่ากับคำเดิมที่ยังไม่ได้แผลง  เช่น                                        จรัส   แผลงเป็น       จำรัส                                         อ่านว่า       จำ หรัด                                                         ตรวจ                แผลงเป็น       ตำรวจ                       อ่านว่า       ตำ หรวด  
                        ตริ                        แผลงเป็น       ดำริ               อ่านว่า       ดำ หริ
            ๗.  คำที่เรายืมมาจากภาษาต่างประเทศ  เช่น  ภาษาบาลี  สันสกฤต เขมร และอังกฤษ  นำมาอ่านแบบอักษรนำของอักขรวิธีไทย  ทั้งที่รูปคำไม่ใช่อักษรนำ  เพราะพยัญชนะตัวหน้ามีรูปสระปรากฏอยู่  แต่เนื่องจากพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง  และพยัญชนะ  ตัวหลังเป็นอักษรเดี่ยว  จึงอ่านอย่างอักษรนำไปด้วย  เช่น                              ขณะ                อ่านว่า                         ขะ – หนะ                                                        ฉวี                   อ่านว่า                         ฉะ หวี                                                          ปรารถนา            อ่านว่า                         ปราด – ถะ หนา                                           สมัคร              อ่านว่า                         สะ หมัก                                                       สยมภู              อ่านว่า                         สะ – หยม – พู                            คำบางคำที่ได้มาจากบาลีสันสกฤต  ที่ไม่ได้มีรูปแบบอักษรนำแต่อนุโลมให้อ่านแบบอักษรนำ  เช่น                                                                                                                                       ดิลก                 อ่านว่า                            ดิ – หลก                                                          อริ                    อ่านว่า                         อะ หริ                                                                       สิริ                   อ่านว่า                         สิ – หริ                                                             กิเลส                อ่านว่า                         กิ – เหลด                              คำที่ได้มาจากภาษาต่างประเทศอื่นๆ  นอกจากบาลีสันสกฤตอ่านแบบอักษรนำของไทย  เช่น                                                                                                                                                     ขยม                 อ่านว่า                         ขะ – หยม  (เขมร)                                                  สลา                 อ่านว่า                         สะ – หลา  (เขมร)                                                        สลุต                 อ่านว่า                         สะ – หลุด  (อังกฤษ)                                       สลาตัน                        อ่านว่า                         สะ –  หลา – ตัน  (มลายู)
ตัวอย่างคำอักษรนำที่อ่านออกเสียงวรรณยุกต์พยางค์หลังตามพยางค์หน้า
                        กนก                            ขณะ                            ­ขนง                                                     ขนาย                           ขนม                            เขนย                                                    จรุง                              เจริญ                            จรัส                                                     ฉลอง                           ฉลาด                           ฉลุ                                                       ฉลวย                           ฉมัง                             ฉมวก                                                  ดิเรก                               ดิลก                             ตลอด                                                  ตาลโตนด                       ตวาด                           ตลิ่ง                                                     ตลก                             ตลับ                            ตลบ                                                    ถวาย                            ถวิล                             ถนอม                                                  ปรอท                                      แปรก                           ผลิต                                                     ผญา                             ศักราช                         สม่ำเสมอ                                            สมัคร                          สมัย                             สมาน                                                  สมุห์                            สมุด                            เสมียน                                                 สยมภู                          สยุมพร                        สิริ                                                       สยาม                           หริ                                    หิริ                                                         อาขยาน                       อนึ่ง                             อเนจอนาถ                                          เอิกเกริก                      ไอศวรรย์               ฯลฯ



การอ่านออกเสียงคำแผลง                                                                                                                        คำแผลง    คือคำเดิมที่เป็นคำพยางค์เดียวแผลงมาเป็นคำสองพยางค์  และมีพยัญชนะต้นเป็นตัวควบกล้ำ  เมื่ออ่านพยางค์หลังมักผันเสียงตามตัวนำเดิมการอ่าน              คำแผลงมีหลักเกณฑ์  ดังนี้ คือ                                                                                                    ๑.  ถ้าคำเดิมเป็นพยัญชนะควบกล้ำ  เมื่อแผลงเป็น  ๒  พยางค์  ต้องอ่าน              ออกเสียงพยางค์หลัง  ให้มีเสียงวรรณยุกต์เท่ากับคำเดิม  เช่น                                    กราบ   แผลงเป็น         กำราบ              อ่านว่า             กำ  -  หราบ                 กลบ    แผลงเป็น         กระลบ            อ่านว่า             กระ  -  หลบ                กลับ    แผลงเป็น         กระลับ            อ่านว่า             กระ  -  หลับ                ครบ     แผลงเป็น         คำรบ               อ่านว่า             คำ  -  รบ                                  ตริ        แผลงเป็น         ดำริ                  อ่านว่า             ดำ  -  หริ                      ตรวจ            แผลงเป็น         ตำรวจ             อ่านว่า             ตำ  -  หรวด                             ตรัส            แผลงเป็น         ดำรัส               อ่านว่า             ดำ  -  หรัด                               ตรับ            แผลงเป็น         ตำรับ               อ่านว่า             ตำ  -  หรับ                  เสร็จ    แผลงเป็น             สำเร็จ              อ่านว่า             สำ  -  เหร็ด                              แทรก   แผลงเป็น         ชำแรก                 อ่านว่า             ชำ  -  แรก                                ทรุด     แผลงเป็น         ชำรุด               อ่านว่า             ชำ  -  รุด                                            ยกเว้น                                                                                                                                                    ปราศ        แผลงเป็น    บำราศ             อ่านว่า             บำ  -  ราด                                       ซึ่งเป็นการอ่านตามความนิยม                                                                                                     ๒.  ถ้าคำเดิมเป็นพยัญชนะต้นตัวเดียว คือไม่มีตัวควบกล้ำ  โดยมากเมื่อแผลงคำเป็นสองพยางค์แล้ว  ให้อ่านออกเสียงตามรูปที่ปรากฏ คือ รูปเขียนอย่างไรก็ให้อ่านอย่างนั้น       เช่น                                                                                                                              แจก     แผลงเป็น         จำแนก             อ่านว่า             จำ  -  แนก
            ชาญ     แผลงเป็น         ชำนาญ            อ่านว่า             ชำ  -  นาน                               เดิน      แผลงเป็น         ดำเนิน             อ่านว่า             ดำ  -  เนิน                                เถกิง    แผลงเป็น         ดำเกิง               อ่านว่า             ดำ  -  เกิง                                 โจทย์   แผลงเป็น         จำโนทย์          อ่านว่า             จำ  -  โนด                               ช่วย     แผลงเป็น         ชำร่วย              อ่านว่า             ชำ  -  ร่วย                                อวย     แผลงเป็น         อำนวย             อ่านว่า             อำ  -  นวย                               แสดง   แผลงเป็น         สำแดง             อ่านว่า             สำ  -  แดง                                ขด            แผลงเป็น         ขนด                อ่านว่า             ขะ  -  หนด                              แผก            แผลงเป็น         แผนก              อ่านว่า             ผะ -  แหนก                             ชาย            แผลงเป็น         ชม้าย               อ่านว่า             ชะ -  ม้าย                                 ชาญ              แผลงเป็น         ชำนาญ           อ่านว่า             ชำ  -  นาน                               ชะ            แผลงเป็น         ชำระ                อ่านว่า             ชำ  - ระ          
            ๓.  การออกเสียงพยางค์หลังตามรูปที่เขียน  ระดับเสียงอาจไม่เท่าเดิม                          ถ้าต้องการจะให้เสียงเท่าเดิม  หรือเสียงสูงก็ให้ใช้  ห  นำได้  เช่น                                                       แต่ง                  แผลงเป็น                     ตำแหน่ง                                                          จ่าย                  แผลงเป็น                     จำหน่าย                                                           เกิด                  แผลงเป็น                     กำเหนิด                                                           ติ                          แผลงเป็น                     ตำหนิ                                                                          กฎ                        แผลงเป็น                     กำหนด           
           


สาระที่ 1 การอ่าน
สวัดดีครับ วันนี้ผมจอมมารจะมาสอนอ่านภาษาบาลี การสะกด


เห็นหลายท่านยังจะไม่เคยอ่านและอยากลองอ่านดู




วันนี้ผมเลยถือโอกาสนี้มานำเสนอขายเอ้ยไม่ใช่ครับ




มานำเสนอวิธีการอ่านภาษาบาลีกันให้ถูกต้องกัน




เผื่อท่านใดได้คาถามาแต่ดันเขียนภาษาบาลีมาให้




ไม่รู้อ่านไง ปัญเล่านี้จะหมดไป เพราะผมนำเสนอเครื่องอ่านภาษา




บาลีเอ้ยอีกและไม่ใช่ครับ นึกว่าตัวเองขายของขออภัยเอาเป็นว่า




เรามารู้จักวิธีการอ่านบาลีเบื้องต้นกันนะครับ




การอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น




บทสวดมนต์ที่โบราณาจารย์คัดจากพระสูตรต่างๆ นำบทสวดนั้น เป็นภาษาบาลี




หรือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพุทธวจนะ ภาษานี้พระพุทธเจ้าใช้ใน




การประกาศศาสนาเป็นหลักแม้ในการทำสังคยานาร้อยกรองพระธรรมวินัย




พระสังคาหกาจารย์ ก็ได้ใช้ภาษาบาลีในการจารึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่า พระไตรปิฎก บาลีจึงมีกฎเกรณฑ์ทางไวยยากรณ์เฉพาะตน แม้จะนำมาเขียนในรูปแบบของภาไทย ก็ยังมีวิธีอ่านที่แตกต่างกันจากภาษาไทยบ้างในบางตัว ข้อนี้เป็นปัญหาสำหรับผู้สวดที่ไม่รู้ภาษาบาลีพอสมควรเพราะไม่รู้จะอ่านอย่างไรจึงจะถุกต้องตามหลักอักขรวิธี ผมจึงขอนำเสนอขายเครื่ออ่านภาษาบาลี ในราคา เอ้าๆๆ มั่วอีกและ นึกว่าขายของอยู่เรื่อย ขออภัยครับท่านผู้อ่าน ผมเลยได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังสือ เพื่อให้ชาวประชาชีเว็ปพลังจิตได้ศึกษาได้อ่านกัน และได้ศึกษากัน



อักขระหรืออักษรในภาษาบาลีมี ๔๑ ตัวแยกเป็นสระ ๘ ตัว


และพยัญชนะ ๓๓ ตัว คือ


สระ ๘ ตัว คือ อะ อา อ อี อุ อู เอ โอ




สระ ๓๓ ตัวนี้ชื่อ นิสสิต เพราะออกเสียงได้ตามลำพังตนเองและทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้



พยัญชนะ ๓๓ ตัว คือ

ก(กะ) ข(ขะ) ค(คะ) ฆ(ฆะ) ง(งะ) จ(จะ) ฉ(ฉะ) ช(ชะ) ฌ(ฌะ)




ญ(ญะ) ฏ(ฏะ) ฐ(ฐะ) ฑ(ฑะ) ฒ(ฒะ) ณ(ณะ) ต(ตะ) ถ(ถะ)




ท(ทะ) ธ(ธะ) น(นะ) ป(ปะ) ผ(ผะ) พ(พะ) ภ(ภะ) ม(มะ)




ย(ยะ) ร(ระ) ล(ละ) ว(วะ) ส(สะ) ห(หะ)ฬ (ฬะ) อํ(อังนิคหิต)

ข้อควรระวังในการอ่านออกเสียงจากภาษาบาลีสู่ภาษาไทย



๑.การเขียนภาษาบาลีสะกดแบบไทย ได้คงรูป สระและพยัญชนะไว้ตามอย่างการเขียนบาลี พยัญชนะที่ออกเสียงสระก็เขียนคำประวิสสรรชนีย์ด้วย ยกเว้นบางศัพท์ออกเสียงสระอะเพียงกึ่งมาตรา ออกเยงควบกับพยัญชนะตัวอื่น ตัวอย่าง เช่น



บาลีว่า ภควโต เขียนสะกดแบบภาษาไทยว่า ภะคะวะโต




บาลีว่า อรหํ เขียนสะกดแบบไทย อะระหัง




บาลีว่า ปุริสทมฺมสารถิ ไทยว่า ปุริสะทัมมะสาระถิ




๒. พยัญชนะอรรธสระหรืออัฆฒสระ คือ พยัญชนะออกเสียงกึ่งสระและ กึ่งพยัญชนะ สามารถออกเสียงควบกับพยัญชนะอื่นได้ ทำให้พยัญชนะที่สะกดซึ่งอยู่หน้ามีฐานะเป็นตัวสะกดและเป็นตัวควบกล้ำกับพยัญชนะเล่านี้ด้วย พยัญชนะเล่านี้คือ ย,,,, จำแนกดังนี้



๒.๑ ร อักษรอยู่ท้ายตัวสะกด หรืออยู่ท้ายพยัญชนะบางตัว เช่น พฺ , ทฺ ให้ออกเสียงกล้ำกันได้ ตัวอย่าง เช่น


บาลีว่า พฺรูถ ไทยว่า พะ-รู-ถะ

บาลีว่า พฺราหฺมโณ ไทยว่า พะ-ราม-มะ-โน
บาลีว่า ยตฺร, ตตฺร, อญฺญตฺร ไทยว่า ยันตระ ตัตระ อัญญัตระ อ่านว่า ยัด-ตะ-ระ
ตัด-ตะ-ระ, อัน-ยัด-ตะ-ระ
บาลีว่า อินฺทฺริยํ ไทยว่า อินทริยัง อ่านว่า อิน-ทะ-ริ-ยัง
บาลีว่ายาตฺรา ไทยว่า ยาตรา อ่านว่า ยาด-ตะ-รา
บาลีว่า อตฺรโช ไทยว่า อัตระโช อ่านว่า อัด-ตะ-ระ-โช
บาลีว่า ภทฺรานิ ไทยว่า ภัทรานิ อ่านว่า พัด-ทะ-รา-นิ

๒.๒ ย อักษร อยู่ท้ายพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดหรือพยัญชนะโดด บางตัว เช่น พ อักษร จะออกเสียงสระอะกล้ำกับพยัญชนะตัวนั้น ทำให้พยัญนะ ตัวหน้านั้น มีสถานะเป็นตัวสะกดและออกเสียงสระอะกึ่งเสียงด้วย ตัวอย่าง เช่น




บาลีว่า พฺยญฺชนํ ไทยว่า พยัญชะนัง อ่านว่า พะ-ยัน-ชะ-นัง



บาลีว่า อพฺยากตา ไทยว่า อัพยากะตา อ่านว่า อับ-พะ-ยา-กะ-ตา


บาลีว่า กลฺยาโณ ไทยว่า กัลยาโณ อ่านว่า กัน-ละ-ยา-โน

บาลีว่า อพฺยาปชฺฌา ไทยว่า อัพยาปัชฌา อ่านว่า อับ-พะ-ยา-ปัด-ชา
บาลีว่า กลฺยาณกมฺยตํ ไทยว่า กัลยาณะกัมยะตัง อ่านว่า กัน-ละ-ยา-นะ-กัม-มะ-ยะ-ตัง

๒.๓ ว อักษร อยู่ท้ายพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดหรือพยัญชนะโดด บางตัว เช่น ท อักษร ในภาษาบาลีจะลง ตฺวา, ตฺวาน ปัจจัยเป็นพื้น ซึ้งมีมากใน ปกรณ์บาลีทั้งปวง โดยออกเสียง ตฺ เป็นตัวสะกด (แม่กด) และออกเสียงสระอะกึ่งด้วย ตัวอย่างเช่น




บาลีว่า เทว ไทยว่า เทว อ่านว่า ทะ-เว



บาลีว่า คนฺตวา ไทยว่า คันตะวา อ่านว่า คัน-ตะ-วา


บาลีว่า วตฺวา ไทยว่า วัตวา อ่านว่า วัต-ตะ-วา

บาลีว่า ปตฺวา ไทยว่า ปัตวา อ่านว่า ปัต-ตะ-วา

๓. พยัญชนะอุสุม คือพยัญชนะที่มีเสียงเสียดแทรก เมื่อเป้นตัวสะกด ก็สามารถอ่านออกเสียงได้อีก คือ สฺ อักษรในบาลี และ ศฺ,ษฺ อังษรในภาษาสันสกฤต สำหรับภาษาลาลีที่เห็นเด่นชัดคือ ศัพที่ลงสฺมา วิภัตติ หรือ สฺมึวิภัตติ อีกด้วย ในกรรีนี้ จะต้องออกเสียง สฺ อักษรในฐานะตัวสะกด (แม่กด) และออกเสียงสระที่ สฺ อักษรเพียงกึ่งมาตรากล้ำกับคำที่อยู่หลังตัวอย่าง เช่น




บาลีว่า ตสฺมา ไทยว่า ตัสมา อ่านว่า ตัส-สะ-หมา



บาลีว่า อายสฺมนฺโต ไทยว่า อายัสมันโต อ่านว่า อา-ยัส-สะ-หมัน-โต


บาลีว่า อายสฺมา ไทยว่าอายัสมา อ่านว่า อา-ยัส-สะ-หมา

บาลีว่า ทิสฺวา ไทยว่า ทิสวา อ่านว่า ทิส-สะ-หวา

๔. บาลีที่ลง เ-ยฺย (เอยย วิภัตติ) หรือ เอยฺย ปัจจัย ให้อ่านออกเสียง กึ่งกลางระหว่าง ไ-ยะ กับ เ-ยย ซึ่งออกเสียงยาก จึงนิยมออกเสียงเป็น ไ-



ตัวอย่าง เช่น



บาลีว่า คณฺเหยฺย ไทยว่า คัณเหยยะ อ่านว่า คัณ-ไห-ยะ



บาลี ว่า อาหุเนยฺโย ไทยว่า อาหุเนยโย อ่านว่า อา-หุ-ไน-โย


บาลีว่า ปาหุเนยฺโย ไทยว่า ปาหุเยโย อ่านว่า ปา-หุ-ไน-โย

บาลีว่า เสยฺยถีทํ ไทยว่า เสยยะภีทัง อ่านว่า ไส-ยะ-ถี-ทัง
บาลีว่า วฑฺเฒยยํ ไทยว่า วัฑเฒยยัง อ่านว่า วัด-ไท-ยัง

๕. ฑ อักษร ในภาษาบาลีให้ออกเสียงเป็น ด อักษร ตัวอย่าง



บาลีว่า ปณฺฑิโต ไทยว่า ปัณฑิโต อ่านว่า ปัน-ดิ-โต


บาลีว่า ปิณฺฑปาโต ไทยว่า ปิณฑะปาโต อ่านว่า ปิน-ดะ-ปา-โต


๖. ห อัษร + อี อัการ ไม่นิยมอ่านออกเสียงตามตัวของมัน นิยมอ่าน ห อักษร เป็นเสียง ฮ อักษร ตัวอย่าง



บาลีว่า หีโน ไทยว่า หีโน อ่านว่า ฮีโน


บาลีว่า วิญฺญูหีติ ไทยว่า วิญญูหีติ อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ


๗. ศัพท์บาลีถูกแปลงมาจากอาเทศสระสนธิ คือ การแปลงสระ อิ,เอ,อุ,โอเป็นพยัญชนะเพื่อเข้ากับศัพท์อื่นที่อยู่ด้านหลัง หรือแม้แต่ศัพท์เดี่ยวที่มีอุปสัค อยู่หน้าก้สามารแปลงได้ คือ แปลง อุ,โอ เป็น วฺ อักษร แปลง อิ เอ เป็น ยฺ อักษร ตัวอย่างเช่น




บาลีว่า สฺวากขาโต ไทยว่า สวากขาโต อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต



(
สฺวากฺ มาจาก สุ+อกฺขาต แปลงอุเป็น ว สะ จึงออกเสียงกล้ำกึ่งมาตรา กับ หวาก )



บาลีว่า จกฺขฺวายตนํ ไทยว่า จักขวายะตะนัง อ่านว่า จัก-ขะ-วา-ยะ-ตะ-นัง


บาลีว่า อสีตฺยานุพฺยญฺชนํ ไทยว่า อะสีตยานุพยํญชะนัง อ่านว่า อะ-สี-ตะ-ยา-นุ-พะ-ยัน-ชะ-นัง

บาลีว่า ปฏิปตฺยตฺถํ ไทยว่า ปฏิปัตยัตถัง อ่านว่า ปะ-ติ-ปัด-ตะ-ยัด-ถัง

๘.สุดท้ายแล้วครับพี่น้องชาวพลังจิต คำที่สะกดด้วย อิยฺ ให้อ่านเป็น อี โดยใช้ฟันล่าง และฟันบนกดกัน แล้ว ออกเสียง ตัวอย่าง เช่น



บาลีว่า นิยฺยานิโก ไทยว่า นิยยานิโก อ่านว่า นีย-ยา-นีโก


บาลีว่า นิยฺยาเทม ไทยว่า นิยยาเทมะ อ่านว่า นีย-ยา-เท-มะ

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2613
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้งในรสของคำประพันธ์ ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์เเต่ละชนิด
การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ ดังนี้
๑.  อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน
๒.  อ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอ่านมีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้นเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและท่วงทำนองตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ให้ชัดเจนเเละเหมาะสม
หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
๑.  ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การเเบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์ เสียงหนักเบา เป็นต้น
๒.  อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์
๓.  อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
๔.  อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
๕.  คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
๖.  มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท
ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง
การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
๑.  ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น
๒.  ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านเเละขณะกำลังอ่าน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
๓.  ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผัวรรณยุกต์ และอื่นๆ
๔.  พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ
๕.  หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่างๆอยู่เสมอ จึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ
คุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะ
๑.  ผู้ฟังเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
๒.  ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง
๓.  เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
๔.  จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วเเม่นยำ
๕.  ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน
๖.  ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของชาติ
วิธีการอ่านทำนองเสนาะจากคำประพันธ์
กลอนสุภาพ นิยมอ่านเสียงสูง ๒ วรรค และเสียงต่ำ ๒ วรรค
การเเบ่งจังหวะวรรคในการอ่าน มีดังนี้ 
     วรรคละ ๖ คำ อ่าน    ๒/๒/๒    OO/OO/OO
     วรรคละ ๗ คำ อ่าน    ๒/๒/๓    OO/OO/OOO
     วรรคละ ๘ คำ อ่าน    ๓/๒/๓    OOO/OO/OOO
     วรคคละ ๙ คำ อ่าน    ๓/๓/๓    OOO/OOO/OOO
ตัวอย่าง
การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๖ คำ
      ไผ่ซอ/อ้อเสียด/เบียดออด//         ลมลอด/ไล่เลี้ยว/เยวไผ่//
      ออดเเอด/แอดออด/ยอดไกว//      แพใบ/ไล้น้ำ/ลำคลอง//
การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๘ คำ
      เเล้วสอนว่า/อย่าไว้/ใจมนุษย์         มันเเสนสุด/ลึกล้ำ/เหลือกำหนด
      ถึงเถาวัลย?/พันเกี่ยว/ที่เลี้ยวลด//   ก็ไม่คด/เหมือนหนึ่งใน/น้ำใจคน//
กาพย์ยานี ๑๑ มีจำนวนคำ ๑๑ คำ นิยมอ่านเสียงสูงกว่าปกติจึงจะเกิดความไพเราะ
การเเบ่งจังหวะวรรดในการอ่าน มีดังนี้
      วรรคหน้า ๕ คำ อ่าน     ๒/๓     OO/OOO
      วรรคหลัง ๖ คำ อ่าน     ๓/๓     OOO/OOO
ตัวอย่าง การเเบ่งจังหวะกาพย์ยานี ๑๑
              เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//           ทิพากร/จะตกต่ำ//
      สนธยา/จะใกล้ค่ำ//                          คำนึงหน้า/เจ้าตราตรู
              เรื่อยเรื่อย/มาเรียงเรียง//          นกบินเฉียง/ไปทั้งหมู่//
      ตัวเดียว/มาพลัดคู่//                          เหมือนพี่อยู่/ผู้เดียวดาย//
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

การเขียน
1. การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น

2. ลักษณะผู้เขียน ผู้เขียนนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิด ของผู้เขียนเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวถึง ลักษณะของผู้เขียน ได้ดังนี้
1) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ
2) มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ
3) เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา
4) หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน
5) ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง
6) ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน
7) จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง
         ที่มา : http://www.geocities.com/taoliks/e007.htm.
การเขียนย่อความ  http://www.kr.ac.th/tech/nittaya48/0002.gif
         การย่อความ คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่องแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ประโยชน์ของการย่อความ
         สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราใช้ประโยชน์ในส่วนนี้โดยไม่รู้ตัว การย่อความนั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทุกฝ่าย ทุกอาชีพ ทุกวัย ดังนั้น การย่อความ จึงมีประโยชน์ในการฝึกหัดอ่านในใจหรือฟังเพื่อเก็บข้อความสำคัญ ตลอดจนการฝึกหัดในการใช้ภาษาการเขียน ให้กระชับรู้จักแยกแยะใจความสำคัญที่เป็นแก่นของเรื่อง คือจะกล่าวแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น
วิธีย่อความ
         1) อ่านเรื่องที่ต้องการย่ออย่างละเอียด ด้วยความเป็นกลางหลายๆรอบ ว่าผู้เขียนต้องการเน้นหรือเสนอเรื่องอะไร มีความสำคัญอะไรบ้าง
         2) อ่านพิจารณา จับใจความสำคัญออกมาบันทึกด้วยภาษาที่รัดกุม
         3) นำใจความทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ ให้เนื้อความสำคัญกันตามลำดับโดยใช้ประโยคสั้นๆ ความหมายชัดเจน
         4) ทบทวนข้อความเรียบเรียงอีกครั้ง ดูความบกพร่องอย่างถี่ถ้วนว่า ความหมายของเรื่องตกไปหรือเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
         5) บทความที่นำมาย่อ การชี้แจงที่มาของข้อความที่นำมาย่อ นิยมใช้แบบขึ้นต้นย่อความดังนี้ย่อความร้อยแก้วธรรมดา ขึ้นต้นดังนี้
         - ย่อเรื่องอะไร
         - ใครเป็นผู้แต่ง
         - จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร
         - มีความว่า……
ย่อจดหมายขึ้นต้น ดังนี้
         - ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
         - เรื่องอะไร
         - วัน เดือน ปี อะไร
         - มีความว่า……
ถ้าเป็นจดหมายตอบรับ ขึ้นต้นดังนี้
         - ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
         - เรื่องอะไร
         - วัน เดือน ปี อะไร
         - ความฉบับแรกว่าอะไร
         - ใครตอบเมื่อไร
         - มีความว่า….
ย่อพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ปาฐกถาสุนทรพจน์ คำปราศรัย ขึ้นต้นดังนี้
         - ย่อ…..ของใคร
         - กล่าว (แสดง,ให้,พระราชทาน…..ฯลฯ) แก่ใคร
         - เรื่องอะไร (ถ้ามี)
         - เนื่องในงานอะไร(ถ้ามี)
         - ณ ที่ใด
         - เมื่อไร
         - ถ้าย่อจากหนังสือ ให้บอก วัน เดือน ปี ปีที่พิมพ์ และหน้า
         - มีความว่า……
         ที่มา : http://www.geocities.com/taoliks/e007.htm.
การเขียนบทความhttp://www.kr.ac.th/tech/nittaya48/0011.gif
  บทความเป็นความเรียงที่มีลัษณะพิเศษผิดจากเรียงความเรียงธรรมดา เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีพื้นฐานข้อเท็จจริง มีมูลเหตุมาจากเรื่องราว ข่าวสารที่ผู้เขียนแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์ขึ้น
ความมุ่งหมายในการเขียนบทความ
          1. เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
          2. เพื่อพรรณนา ทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ สถานที่หรือความเป็นอยู่
          3. เพื่อเทศนา ชักชวน ให้ผู้อ่านคล้อยตามความคิดของผู้เชียน
          4. เพื่ออธิบายในข้อปัญหาต่างๆ และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม
ประเภทของบทความแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้ ดังนี้
          1. ประเภทปัญหาโต้แย้ง
          2. ประเภทเสนอคำแนะนำ
          3. ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง
          4. ประเภทกึ่งชีวประวัติ หรือสารคดีความรู้ทั่วไป
          5. ประเภทเปรียบเทียบสมมติหรืออุปมาอุปไมย
ลัษณะของบทความที่ดี
          1. น่าสนใจ มีเนื้อหา เหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป
          2. มีสาระแก่นสาร มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้
          3. มีขนาดกะทัดรัด สั้นกระชับ ใช้ภาษาง่ายๆถูกต้องตามหลักภาษา
          4. ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด
          5. มีวิธีการเขียนน่าสนใจ น่าติดตาม ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป
         ที่มา : "หลักนักเขียน" (สมบัติ จำปาเงิน สำเนียง มณีกาญจน์ : เรียบเรียง)
การเขียนเรื่องสั้นhttp://www.kr.ac.th/tech/nittaya48/0019.gif
   เรื่องสั้นเป็นวรรณกรรมแบบหนึ่งของชาวตะวันตก มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่น่าสนใจเพราะมีศิลปะการแต่งผิดไปจากเรียง ความ ประเภทอื่น คือเรื่องสั้นจะมีจุดหมายซึ่งแสดงความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงข้อเดียว

          ลักษณะเฉพาะของเรื่องสั้น
          1. เรื่องสั้นจะต้องมีโครงเรื่อง โครงเรื่องคือกลวิธีแห่งการสร้างเรื่องให้สนุกสนาน โดยมีข้อขัดแย้งระหว่างตัวละคร และจบลงด้วยผล อย่างใดอย่างหนึ่ง
          2. มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียว และมีผลสรุปอย่างเดียว
          3.ใช้เวลาน้อย
          4. มีตัวละครน้อย
          5. มีขนาดสั้น ต้องเขียนด้วยการประหยัดถ้อยคำตรงไปตรงมา ขนาดพอเหมาะอยู่ระหว่าง 4,000-5,000 คำ หรืออ่านจบในเวลา 15-50 นาที
         ที่มา : "หลักนักเขียน" (สมบัติ จำปาเงิน สำเนียง มณีกาญจน์ : เรียบเรียง)
การใช้สำนวนโวหาร
ขั้นตอนในการเตรียมตัวเขียน นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้ว ควรเลือกใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น 5 คือ
1) บรรยายโวหาร
2) พรรณนาโวหาร
3) เทศนาโวหาร
4) สาธกโวหาร
5) อุปมาโวหาร
         1. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนบรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆเช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น
หลักการเขียนบรรยายโวหาร
1) เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริง ผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี โดยอาจรู้มาจากประสบการณ์ หรือการค้นคว้าก็ได้
2) เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญ ไม่เน้นรายละเอียด แต่เขียนตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม
3) ใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย หากต้องการจะกล่าวให้ชัดอาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนส่วน ที่เป็นสาระสำคัญกลายเป็นส่วนด้อยไป
4) เรียบเรียงความคิดให้ต่อเนื่อง และสัมพันธ์กัน
         2. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ
หลักการเขียนพรรณนาโวหาร
1) ต้องใช้คำดี หมายถึง การเลือกสรรถ้อยคำ เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยาย ควรเลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ในงานร้อยกรอง
2) ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา
3) อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใช้คำที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คำ และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม
4) ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
         3. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร จึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 โวหาร เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ
หลักการเขียนเทศนาโวหาร
การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบ กล่าวคือทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และ สาธกโวหารด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง มีทั้งความหลักและความรองเป็นที่เข้าใจจนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้เขียน ไปได้หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร ผู้เขียนต้อง มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน ทั้งควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย การลำดับความให้สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลจึงเป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการเขียนเทศนาโวหารโดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความคำว่าเทศนา ว่าสั่งสอน ความจริงเทศนาในที่นี้ หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหารคือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น
         4.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เป็นต้น ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆ นิสิตควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆ
         5.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด


สาระที่  เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี  และวรรณกรรมไทย  อย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม ข้อสอบออนไลน์ ภาค ก ข ค

เยี่ยมชมวันนี้