หน้าหลัก / HOME ติวสอบดอทคอม

หน้าหลัก / HOME ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท
คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

ข้อสอบเอกวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีว สุขศึกษา พลศึกษา ชุด 1

ข้อสอบเอกเคมี วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา สุขศึกษาและพลศึกษา ชุด 2

ข้อสอบ วิชาเอก ชุด 3 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา สุขศึกษาและพลศึกษา

ข้อสอบ ชุด 4 เอกวิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา

ข้อสอบ ชุด 5 เอกสุขศึกษา พลศึกษา วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา

ข้อสอบ ชุด 6 เอกพลศึกษา สุขศึกษา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์

ข้อสอบออนไลน์ การสร้างค่านิยม 12 ประการ

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เก็งข้อสอบ ครูผู้ช่วย ภาษาเกาหลี

ภาษาเกาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเกาหลี
한국어 ฮันกุกอ, 조선말 โชซอนมัล
พูดใน:เกาหลีเหนือเกาหลีใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและญี่ปุ่น
จำนวนผู้พูด:80 ล้าน [1] 
อันดับ:12 (จำนวนใกล้เคียงกับภาษาเวียดนาม ภาษาเตลูกู ภาษาทมิฬ ภาษามราฐี)
ตระกูลภาษา:ไม่มีการจัด อาจจะเป็นตระกูลภาษาอัลไตอิก หรือ ภาษาเอกเทศ 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน:เกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้
ผู้วางระเบียบ:สถาบันภาษาเกาหลีแห่งชาติ
รหัสภาษา
ISO 639-1:ko
ISO 639-2:kor
ISO 639-3:kor
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา
ภาษาเกาหลี (한국어/조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดเหยียนเปียน มณฑลจื๋อหลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลี) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV)
อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม

เนื้อหา

  [ซ่อน

เกี่ยวกับชื่อ[แก้]

ชื่อเรียกคำว่า "ภาษาเกาหลี" ในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้มีความแตกต่างกัน ในเกาหลีเหนือ ชาวเกาหลีเหนือส่วนใหญ่มักเรียกว่า โชซอนมัล (조선말) หรือหากเป็นทางการขึ้นจะเรียกว่า โชซอนอ (조선어)
ในเกาหลีใต้ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกภาษาของตนว่า ฮันกุกมัล (한국말) หรือ ฮันกุกอ (한국어) หรือ กุกอ (국어) บางครั้งอาจเรียกในแบบภาษาพื้นเมืองหรือภาษาถิ่นว่า อูรีมัล (แปลว่า "ภาษาของเรา"; มาจากคำว่า 우리말 (เขียนติดกันในเกาหลีใต้),หรือ 우리 말 (เขียนแยกกันในเกาหลีเหนือ))

สำเนียงท้องถิ่น[แก้]

สำเนียงท้องถิ่นภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลีมีสำเนียงท้องถิ่นมากมาย ภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีใต้คือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้ในพื้นที่บริเวณกรุงโซล และภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีเหนือคือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้บริเวณกรุงเปียงยาง สำเนียงท้องถิ่นโดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นสำเนียงท้องถิ่นบนเกาะเชจูที่มีความแตกต่างค่อนข้างมาก ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างสำเนียงท้องถิ่นแต่ละแห่งคือ การเน้นเสียง (stress) สำเนียงท้องถิ่นของกรุงโซลจะเน้นเสียงน้อยมาก และไม่ค่อยมีความสูงต่ำในการเปล่งเสียง ในทางกลับกัน สำเนียงท้องถิ่นของ คยองซัง มีความสูงต่ำของการออกเสียงอย่างมากจนคล้ายกับภาษาทางยุโรป อย่างไรก็ตามเราสามารถจำแนกสำเนียงท้องถิ่นของภาษาเกาหลีออกเป็นภูมิภาคต่างๆได้ดังตาราง โดยพิจารณาจากขอบเขตของภูเขาและทะเล**
สำเนียงทางการบริเวณที่ใช้
โซลโซล อินชอน เกียงกี (เกาหลีใต้) และ แคซอง (เกาหลีเหนือ)
เปียงยางเปียงยาง ชากัง (เกาหลีเหนือ)
สำเนียงท้องถิ่นบริเวณที่ใช้
ชุงชองแตจอน ชุงชอง (เกาหลีใต้)
กังวอนกังวอน (เกาหลีใต้)กังวอน (เกาหลีเหนือ)
คยองซังบูซาน, แทกู, อุลซาน, เขตคยองซัง (เกาหลีใต้)
ฮัมกยึงราซึน, เขตฮัมกยึง, รยังกัง (เกาหลีเหนือ)
ฮวังแฮเขตฮังแฮ (เกาหลีเหนือ)
เชจูเกาะเชจู/จังหวัดเชจู (เกาหลีใต้)
จอลลากวางจู, เขตจอลลา (เกาหลีใต้)

อักษรเกาหลี[แก้]

ดูบทความหลักที่ อักษรฮันกึล
พยัญชนะเกาหลี 14 ตัว
อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล โดยผิวเผินแล้ว อักษรฮันกึลคล้ายกับอักษรรูปภาพเหมือนอักษรจีน แต่จริงๆ แล้ว อักษรฮันกึลอยู่ในระบบอักษรแทนเสียง (ตัวพยัญชนะเป็นอักษรรูปภาพเลียนแบบอวัยวะการออกเสียงในขณะที่ออกเสียงนั้นๆ สระเป็นอักษรรูปภาพใช้แนวคิดเชิงปรัชญา เกี่ยวกับ ท้องฟ้า พื้นดิน และมนุษย์)คือประกอบด้วยพยัญชนะและสระ ซึ่งมีทั้งหมด 24 ตัว ประกอบด้วย
  • พยัญชนะ 14 ตัว คือ ㄱ ㄴ ㄷ ㄹ ㅁ ㅂ ㅅ ㅇ ㅈ ㅊ ㅋ ㅌ ㅍ และ ㅎ
  • สระ 10 ตัว คือ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ ㅡ และ ㅣ
พยัญชนะและสระดังกล่าวเรียกว่า พยัญชนะเดี่ยว และสระเดี่ยว ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เรียกว่าพยัญชนะซ้ำ และสระประสมด้วย คือ
  • พยัญชนะซ้ำ 5 ตัว ได้แก่ ㄲ ㄸ ㅃ ㅆ และ ㅉ
  • สระประสม 11 ตัว ได้แก่ ㅐ ㅒ ㅔ ㅖ ㅚ ㅟ ㅘ ㅙ ㅝ ㅞ และ ㅢ
อักษรเกาหลีมีลำดับการเขียนคล้ายอักษรจีน คือ ลากจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา นอกจากนี้การเขียนพยางค์หนึ่งๆ จะเริ่มเขียนจากพยัญชนะต้น ไปสระ และตัวสะกดตามลำดับ

เลขเกาหลี[แก้]

จำนวนคำอ่านภาษาเขียน
1ฮา-นา / อิล하나/일
2ทูล / อี둘/이
3เซด / ซัม셋/삼
4เนด / ซา넷/사
5ทา-ซอด / โอ다섯/오
6ยอ-ซอด / ยุก여섯/육
7อิล-กบ / ชิล일곱/칠
8ยอ-ดอล / พัล여덟/팔
9อา-ฮบ / คู아홉/구
10ยอล / ชิบ열/십

การเทียบเสียง[แก้]

ในภาษาเกาหลี ได้มีการกำหนดระบบในการถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน ไว้ โดยเป็นที่นิยมมาก 2 ระบบ คือ ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 ระบบที่ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศเกาหลีใต้ปัจจุบัน และ ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ ใช้ในประเทศเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการในปัจจุบัน และเคยใช้ในเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการในช่วง พ.ศ. 2527-2543
สำหรับในภาษาไทยนั้น เนื่องจากยังไม่มีการเทียบเสียงภาษาเกาหลีกับภาษาไทยอย่างเป็นทางการ ข้อมูลการเทียบเสียงต่อไปนี้จึงเป็นเพียงการเทียบเสียงเบื้องต้น ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องมากนัก พยัญชนะทุกตัวในภาษาเกาหลีมีเสียงแตกต่างกัน แต่พบว่าบางครั้งการได้ยินของคนไทยไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้เหมือนคนเกาหลี เช่น คำว่า 자 กับ 차 เป็นต้น

พยัญชนะ[แก้]

ฐานริมฝีปากฐานปุ่มเหงือกฐานหลังปุ่มเหงือกฐานเพดานอ่อนฐานเส้นเสียง
เสียงกักและ
เสียงกึ่งเสียดแทรก
สิถิลเบา /p/, /b/ ป-บ /t/, /d/ ต-ด /t͡ɕ/, /d͡ʑ/ จ-จ͡ย /k/, /g/ ก-ก͡ง
สิถิลหนัก /p͈/ ป* /t͈/ ต* /t͡ɕ͈/ จ* /k͈/ ก*
ธนิต /pʰ/ พ /tʰ/ ท /t͡ɕʰ/ ช /kʰ/ ค
เสียงเสียดแทรกเบา /s/หรือ/ɕ/ ซ /h/ ฮ
หนัก /s͈/หรือ/ɕ͈/ ซ*
เสียงนาสิก /m/ ม /n/ น /ŋ/ ง (ตัวสะกด)
เสียงข้างลิ้น /l/ ล
พยัญชนะที่กำกับดอกจันไว้หมายถึงพยัญชนะเสียงหนัก
สำหรับ ㅇ เมื่อเป็นพยัญชนะต้นแต่มีคำอื่นมาก่อน จะนำพยัญชนะสะกดของคำก่อนหน้ามาเป็นเสียงพยัญชนะต้น ดูที่ การอ่านโยงเสียง
ตัวอย่างคำศัพท์
หน่วยเสียงตัวอย่างทับศัพท์คำแปล
 /p/ [pal]balเท้า
 /p͈/빨다 [p͈alda]ppaldaซักผ้า
 /pʰ/ [pʰal]palแขน
 /m/ [mal]malม้า
 /t/ [tal]dalพระจันทร์
 /t͈/ [t͈al]ttalลูกสาว
 /tʰ/타다 [tʰada]tadaขี่
 /n/ [nal]nalวัน
 /t͡ɕ/ [t͡ɕal]jalบ่อน้ำ
 /t͡ɕ͈/짜다 [t͡ɕ͈ada]jjadaคั้น
 /t͡ɕʰ/차다 [t͡ɕʰada]chadaเตะ
 /k/가다 [kada]gadaไป
 /k͈/깔다 [k͈alda]kkaldaกระจาย
 /kʰ/ [kʰal]kalมีด
 /ŋ/ [paŋ]bangห้อง
 /s/ [sal]salเนื้อหนัง
 /s͈/ [s͈al]ssalข้าวสาร
 /l/바람 [paɾam]baramลม
 /h/하다 [hada]hadaทำ

สระ[แก้]

สระเสียงสั้นสระเสียงยาว
สระเกาหลีพื้นฐาน
ฐาน+อี
ฐาน /a/ อา /ʌ/ ออ /o/ โอ /u/ อู /ɯ/ อือ /i/ อี /ɛ/ แอ /e/ เอ /ø/ เออ /y/ อวี /ɰi/ งึย (อึย)
ย+ /ja/ ยา /jʌ/ ยอ /jo/ โย /ju/ ยู /jɛ/ แย /je/ เย
ว+ /wa/ วา /wʌ/ วอ /wɛ/ แว /we/ เว
  • /ʌ/ ออกเสียงอยู่ระหว่าง "ออ" กับ "เออ" บางตำราก็ใช้ /ə/ "เออ"
  • /ø/ ออกเสียงอยู่ระหว่าง "เอ" กับ "เออ"
สระเกาหลีไม่เหมือนภาษาไทยซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาวแยกกัน เช่น สระอิ หรือ สระอี จะรวมเป็นสระเดียว คือ /i/ แต่จะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวนั้นขึ้นอยู่กับการเน้นเสียง แม้คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านด้วยเสียงที่ต่างกัน ความหมายก็อาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
สระเสียงสั้นสระเสียงยาว
/i/ อิ시장 (sijang [ɕiˈʥaŋ], ความหิว)/iː/ อี시장 (sijang [ˈɕiːʥaŋ], ตลาด)
/e/ เอะ베개 (begae [peˈɡɛ], หมอน)/eː/ เอ베다 (beda [ˈpeːda], ตัด)
/ɛ/ แอะ태양 (taeyang [tʰɛˈjaŋ], พระอาทิตย์)/ɛː/ แอ태도 (taedo, [ˈtʰɛːdo], ความคิดเห็น)
/a/ อะ (mal [ˈmal], ม้า)/aː/ อา (mal [ˈmaːl], คำ, ภาษา)
/o/ โอะ보리 (bori [poˈɾi], ข้าวบาร์เล่ย์)/oː/ โอ보수 (bosu [ˈpoːsu], เงินเดือน)
/u/ อุ구리 (guri [kuˈɾi], ทองแดง)/uː/ อู수박 (subak [ˈsuːbak], แตงโม)
/ʌ/ เอาะ (beol [ˈpʌl], การลงโทษ)/əː/ เออ (beol [ˈpəːl], ผึ้ง)
/ɯ/ อึ어른 (eoreun [ˈəːɾɯn], ผู้อาวุโส)/ɯː/ อือ음식 (eumsik [ˈɯːmɕik], อาหาร)
^ ชาวเกาหลีส่วนใหญ่ออกเสียง /ʌː/ "ออ" (เสียงยาว) เป็น /əː/ "เออ"

ตัวสะกด[แก้]

แม้พยัญชนะเกาหลีจะมีหลายตัว และแต่ละตัวเสียงแตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาใช้เป็นตัวสะกดแล้ว จะมีทั้งหมด 7 แม่เท่านั้น ดังตาราง จะเห็นว่าคล้ายคลึงกับภาษาไทย โดยที่ต่างออกไปคือ เสียง "ล" เมื่อนำไปเป็นตัวสะกดแล้วจะไม่ใช่เสียง "น" นอกจากนี้อาจพบตัวสะกดแบบที่มีพยัญชนะสะกดสองตัว เช่น 여덟, 앉다 ฯลฯ ตัวสะกดลักษณะนี้จะเลือกออกเสียงเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น และอีกตัวจะไม่ออกเสียง เช่น 여덟 อ่านว่า /ยอ-ดอล/ ไม่ใช่ /ยอ-ดอบ/ การที่จะทราบว่าตัวสะกดคู่จะออกเสียงพยัญชนะตัวใด แสดงดังตาราง อย่างไรก็ตามมีตัวสะกดคู่บางส่วนที่ออกเสียงไม่แน่นอนขึ้นกับคำ คือ ㄺ และ ㄼ
ตัวสะกดพยัญชนะตัวอย่าง
กง성 = /ซอง/
กนㄴ ㄵ ㄶ원 = /วอน/
กมㅁ ㄻ남 = /นัม/
กกㄱ ㄲ ㅋ ㄳ밖 = /ผัก/
กดㄷ ㅅ ㅆ ㅈ ㅉ ㅊ ㅌ ㅎ이것 = /อี-กอด/
กบㅂ ㅍ ㅄ ㄿ십 = /ฉิบ/, 없 = /ออบ/
กลㄹ ㄽ ㄾ ㅀ팔 = /พัล/
ไม่แน่นอนㄺ ㄼ여덟 = /ยอ-ดอล/

การอ่านโยงเสียง[แก้]

ในพยางค์หนึ่งๆ กรณีที่พยัญชนะต้นเป็นตัวอีอึง (ㅇ) เสียงของมันอาจไม่ใช่เสียง "อ" แต่จะเป็นเสียงของตัวสะกดในพยางค์ก่อนหน้าแทน เช่น
  • 직업 อ่านว่า /지겁/ (ชี-กอบ) ไม่ใช่ /직-업/ (ชิก-ออบ)
  • 당신은 อ่านว่า /당시는/ (ทัง-ชี-นึน) ไม่ใช่ /당-신-은/ (ทัง-ชิน-อึน)
ถ้าไม่มีคำใดมาก่อนจะออกเสียงคล้าย อ หรือถ้าคำก่อนหน้าไม่มีพยัญชนะสะกด จะออกเสียงเชื่อมสระเข้าด้วยกัน

กฎการอ่านแบบกลมกลืนเสียง*[แก้]

ในพยางค์ใดที่ลงท้ายด้วยตัวสะกดและพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไปที่ติดกัน
เสียงของตัวสะกดจะเปลี่ยนเพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน โดยจำแนกไว้เป็นกฎต่างๆดังต่อไปนี้
1. พยางค์ใดลงท้ายด้วยตัวสะกดในแม่ /ㄱ/, /ㄷ/, /ㅂ/ และพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไปเป็นเสียงนาสิก เสียงตัวสะกดจะเปลี่ยนเป็น /ㅇ/,/ㄴ/,/ㅁ/ ตามลำดับ เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน

ตัวอย่างเช่น
집는다 -> /짐는다/ เขียนว่า "ชิบนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "ชิมนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน
받는다 -> /반는다/ เขียนว่า "พัดนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "พันนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน
속는다 -> /송는다/ เขียนว่า "ซกนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "ซงนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน

ที่คุ้นเคยกันดีได้แก่ ไวยากรณ์ลงท้ายประโยคอย่างสุภาพ "~습니다" ถึงแม้ว่าจะเขียนเป็น ซึ่บนิดา แต่เพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เราก็จะอ่านว่า ซึมนิดา

ตัวอย่างประโยคหรือวลีที่มักพบ[แก้]

ประโยคเกาหลีคำอ่านไทยคำแปล
안녕하세요.อัน-นยอง-ฮา-เซ-โยสวัสดี
감사합니다./고맙습니다.คัม-ซา-ฮัม-นิ-ดะ / โค-มับ-ซึม-นิ-ดะขอบคุณ
사랑해.ซา-รัง-แฮฉันรักคุณ
실례지만.ชิล-รเย-จี-มันขอประทานโทษครับ
안녕히 주무세요.อัน-นยอง-ฮี๊ จู-มู-เซ-โยราตรีสวัสดิ์
반갑습니다.พัน-กั๊บ-ซึม-นี-ดายินดีที่ได้รู้จัก
죄송합니다. 저 먼저 갑니다ชเว-ซง-ฮัม-นี-ดา. ชอ-มอน-จอ-กัม-นี-ดา.ขอโทษครับ ผมไปก่อนนะครับ

ไวยากรณ์[แก้]

การวางคำในประโยคภาษาเกาหลีมีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียงในภาษาญี่ปุ่นและภาษาตุรกีรวมไปถึงภาษาในประเทศอินเดีย โดยเรียงลำดับคำในประโยคเป็น "ประธาน-กรรม-กริยา" ซึ่งแตกต่างกับประโยคในภาษาไทยที่เป็น "ประธาน-กริยา-กรรม" เช่นประโยค "ฉันกินข้าว" ในภาษาไทย จะเขียนลำดับเป็น "ฉันข้าวกิน" ในภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลีมีคำช่วยเพื่อบอกหน้าที่ของคำต่างๆ ในประโยค เช่น เป็นคำช่วยที่ใช้วางหลังสถานที่เพื่อระบุตำแหน่ง และ หรือ เป็นคำช่วยที่วางหลังคำเพื่อระบุว่าคำนั้นเป็นประธานของประโยค เป็นต้น นอกจากนี้ภาษาเกาหลียังมีการผันรูปกริยาหลายรูปแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงกาลเทศะ เช่น ระดับความสุภาพและความเป็นทางการของประโยค สภาพกาลของประโยคว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  • Sohn, H.-M. (1999). The Korean Language. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-36943-5.
  • Song, J.J. (2005). The Korean Language: Structure, Use and Context. London: Routledge. ISBN 0-415-32802-0.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Chang, Suk-jin (1996). Korean. Philadelphia: John Benjamins Publishing Company. ISBN 1556197284. (Volume 4 of the London Oriental and African Language Library).
  • Hulbert, Homer B. (1905): A Comparative Grammar of the Korean Language and the Dravidian Dialects in India. Seoul.
  • Lee, Ki-Moon Lee and S. Robert Ramsey. A History of the Korean Language (Cambridge University Press; 2011) 352 pages.
  • Martin, Samuel E. (1966): Lexical Evidence Relating Japanese to Korean. Language 42/2: 185–251.
  • Martin, Samuel E. (1990): Morphological clues to the relationship of Japanese and Korean. In: Philip Baldi (ed.): Linguistic Change and Reconstruction Methodology. Trends in Linguistics: Studies and Monographs 45: 483-509.
  • Miller, Roy Andrew (1971): Japanese and the Other Altaic Languages. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0-226-52719-0.
  • Miller, Roy Andrew (1996): Languages and History: Japanese, Korean and Altaic. Oslo: Institute for Comparative Research in Human Culture. ISBN 974-8299-69-4.
  • Ramstedt, G. J. (1928): Remarks on the Korean language. Mémoires de la Société Finno-Oigrienne 58.
  • Rybatzki, Volker (2003): Middle Mongol. In: Juha Janhunen (ed.) (2003): The Mongolic languages. London: Routledge. ISBN 0-7007-1133-3: 47–82.
  • Starostin, Sergei A.; Anna V. Dybo; Oleg A. Mudrak (2003): Etymological Dictionary of the Altaic Languages, 3 volumes. Leiden: Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-13153-1.
  • Sohn, H.-M. (1999): The Korean Language. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Sohn, Ho-Min (2006). Korean Language in Culture and Society. Boston: Twayne Publishers. ISBN 9780824826949.
  • Song, J.-J. (2005): The Korean Language: Structure, Use and Context. London: Routledge.
  • Trask, R. L. (1996): Historical linguistics. Hodder Arnold.
  • Vovin, Alexander: Koreo-Japonica. University of Hawai'i Press.
  • Whitman, John B. (1985): The Phonological Basis for the Comparison of Japanese and Korean. Unpublished Harvard University Ph.D. dissertation.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาเกาหลี
Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
ภาษาเกาหลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม ข้อสอบออนไลน์ ภาค ก ข ค

เยี่ยมชมวันนี้